ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการโรงเรียนเซนต์ยอแซฟสกลนคร : ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

พระนางมารีย์ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่

การบอกเล่าอย่างชัดเจนถึงเรื่องราวบทบาทที่พระนางพรหมจารีมารีย์ทรงมี ซึ่งปรากฏแรกสุดในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ (ถูกบันทึก 50 ปีหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า) แม้มองดูแล้วจะไม่มีความสำคัญมากนัก แต่ก็มีบทบาทที่เด่นชัด เราจึงต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับข้อเท็จจริงมูลฐานนี้ ในฐานะที่เป็นพระวจนะของพระเป็นเจ้า

พระนางมารีย์ตามธรรมประเพณีคริสตชน

สัจธรรมเรื่องพระแม่มารีย์ในธรรมประเพณีคริสตชน
บทนำ
ความเคารพนับถือพระแม่มารีย์ของคริสตชนนั้นได้ค่อยๆ เติบโตมาช้านาน ตั้งแต่ศตวรรษแรกๆ ทีเดียว ความศรัทธาภักดีของคริสตชนต่อพระแม่มารีย์ได้กลายเป็นศูนย์กลางแนวทางแห่งชีวิตจิต และศิลปะในธรรมประเพณีคาทอลิก และออร์โธดอกซ์ ซึ่งเห็นได้ ตั้งแต่ปี 150 A.D. ซึ่งมีภาพวาดปูนเปียกตามฝาผนัง มีรูปแม่พระและพระกุมารเยซูเจ้าในกาตากอมบ์ Priscilla ที่โรม มีบทภาวนาถึงแม่พระ มีบทสดุดี มีพิธีกรรมวิงวอนถึงแม่พระ และมีการฉลองต่างๆ เพื่อเทิดเกียรติพระนางด้วย นอกนั้นมีการตั้งชื่ออาสนวิหาร ชื่อคณะนักบวช และแม้แต่ชื่อของปีในนามของพระแม่มารีย์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาภักดี และความรักผูกพันของบรรดาคริสตชนต่อพระแม่มารีย์ ก่อนที่จะมีข้อคำสอนทางการเกี่ยวกับแม่พระในพระศาสนจักรเสียอีก
การพัฒนาข้อคำสอนเกี่ยวกับพระนางมารีย์ในพระศาสนจักรนั้น ค่อยๆ เติบโตตามจังหวะในแต่ละช่วงเหมือนลูกคลื่นที่ก่อตัวขึ้นมา แล้วพุ่งไปข้างหน้า แตกกระจายแล้วไหลย้อนกลับมา จนกว่าคลื่นลูกใหม่มากระทบให้มันพุ่งไปไกลกว่าเดิม (จึงเป็นลักษณะขาดความต่อเนื่อง) ทั้งนี้การพัฒนาข้อคำสอนเกี่ยวกับพระแม่มารีย์ จะเกิดขึ้นตามธรรมประเพณีที่ยึดถือหรือปฎิบัติของแต่ละสมัยในความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ในด้านต่างๆ ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดปัญหา และการโต้แย้งอย่างรุนแรง ที่สุดก็สงบลง ซึ่งเราแบ่งออกเป็น 5 ช่วงดังนี้
1. สมัยปิตาจารย์ ถึง สมัยสภาสังคายนาเมืองเอเฟซัส (ค.ศ.100-431)
2. จากสมัยสภาสังคายนาเมืองเอเฟซัส ถึงสมัยการปฎิรูปของพระสันตะปาปาเกรโกรี (ประมาณ ค.ศ. 1050)
3. จากปลายศตวรรษที่ 11 ถึงปลายสภาสังคายนาเมืองเตรนท์ (ค.ศ.1563)
4. สมัยหลังจากสภาสังคายนาเมืองเตรนท์ ถึงสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
5. สมัยสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ถึง สมัยปัจจุบัน

ลิงสองลิง...

*ลิงสองลิง ชิงบัลลังก์ น่าชังล้น /คนสองคน ชิงตำแหน่ง น่าแช่งกว่า /ของแย่งชิง หลุดลอย ไปไม่ได้มา /ต่างขายหน้า หนีไม่พ้น คนกับลิง *หากลิงค่าง ต่างแย่งกัน นั่นมันสัตว์ /แม้นฝึกหัด ก็ไม่วาย ออกลายสิงห์ /เรามนุษย์ สุดประเสริฐ ล้ำเลิศจริง /ไม่อายลิง มันบ้าง หรืออย่างไร *
โดย ณ เณร 25/11/2554

ขอได้รับความขอบคุณ

ขอได้รับความขอบคุณจาก คุณพ่อเปโตร วิรัช นารินรักษ์